วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่ 1

portee2

                                                             คำปรารภ
สิ่งที่ต้องกล่าวไว้ในเบื้องต้นก็คือ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ เล่มกะทัดรัดเต็มเปี่ยมไปด้วยธรรมะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้น ขอรับรองว่าญาติโยมชาวไต (ไทยใหญ่) จะยังไม่เคยเห็นไม่เคยอ่าน ที่ไหนมาก่อนเลยเป็นแน่ หนังสือเล่มใหญ่ที่มีหน้ามากมายนั้น ใช่ว่า จะเกิดประโยชน์อย่างมากมายก็หาไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาระของหนังสือ ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ หากหนังสือที่มีสาระ ไม่จำเป็นต้องเป็นเล่ม ใหญ่โตก็มีประโยชน์ต่อผู้คนอย่างมหาศาล หนังสือเล่มโต แต่สาระ น้อยทั้งไม่สามารถบ่งบอกถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ให้เกิดมรรคเกิด ผลนั้น ไม่เรียกว่าหนังสือเล่มโต ที่ว่าหนังสือเล่มโตนั้นน่าจะเรียก ตามสาระประโยชน์ที่มีอยู่อย่างมากโขนั้น น่าจะถูกต้องกว่า หนังสือ ภาษาไตโดยทั่วไปนั้นจะเป็นการแปลจากภาษาพม่าเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนังสือที่เขียนจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนนั้น ยังไม่ เคยพบเห็นมาก่อน หนังสือที่พบส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ผู้ต้องการปลากลับแนะนำให้ไปหาบนดอย ผู้ต้องการ เก้งกวางกลับแนะนำให้ไปหาในน้ำ ผู้ต้องการพระนิพพาน กลับแนะนำให้ไปหาที่บัญญัติ หลวงพ่อได้ประพฤติปฏิบัติตาม แนวทางนั้นมามากต่อมากแล้ว ที่จริงแล้ว น้ำนมวัวเกิดจากเต้า นมวัว กลับแนะนำกันให้ไปรีดเอาที่เขาวัว หางวัว และหูวัว เพราะทำผิดอย่างนี้จึงมิได้ลิ้มรสแห่งน้ำนมวัวที่แท้จริง นิพพาน เกิดที่ปรมัตถ์ กลับให้ไปเอาที่บัญญัติ เปรียบเสมือนการรีดนมจากเขาวัวนั่นเอง จึงขอเน้นตรงนี้เลยว่า ใช้บัญญัติ หาบัญญัติ เห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ ทำอย่างนี้ไม่ได้มรรคผล

ได้เพียงโลกิยฌานเท่านั้น ใช้ปรมัตถ์ หาปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ ทำอย่างนี้จึงจะได้มรรคผลเป็นพระอริยะเรื่องบัญญัติกับปรมัตถ์นี้จะกล่าวอธิบายถึงรายละเอียดในเล่มตัวหนังสือกับธรรมะทั้งสองสิ่งนี้มิใช่สิ่งเดียวกัน ธรรมะมีอยู่ในตัวของสัตว์มนุษย์และเทวดา แต่ตัวหนังสือก็มีแต่ในหนังสือเท่านั้น ตัวหนังสือที่สามารถบ่งบอกถึงสภาวธรรมที่มีอยู่จริงนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นหนังสือธรรมะ ผู้เขียนเคยประสบกับตัวเองมาแล้วเมื่อก่อนมีหนังสือธรรมะภาษาไตเล่มหนึ่งว่าด้วยเรื่อง "ส่างลอง 6 รูปเมืองกึ๋ง (บวชลูกแก้ว 6 รูปเมืองกึ๋ง)" ทุกครั้งที่มีการอ่านในงาน อาจารย์(จเร) ผู้อ่านจะเป็นผู้นำพุทธบริษัทที่มาในงานนั้น กราบไหว้บูชาก่อนเสมอ หลังอ่านจบก็กล่าวสาธุการพร้อมกัน ทำอย่างนี้เสมอมาอย่างนี้เรียกว่า "ไม่รู้เรื่องน้ำแล้วทำตัวเป็นคน หาปลาไม่รู้เรื่องป่าแล้วทำตัวเป็นนายพรานล่าสัตว์" ผู้เขียนเองก็เคยประพฤติตนเช่นนี้มาก่อน กล่าวคือ เคยเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดดอยแสง บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะเวลา 15-16 ปีทั้งที่ตนเองไม่เห็น มรรคผลนิพพานกลับสอนและแนะนำให้
คนอื่นไปสู่มรรคผล นิพพาน เป็นคนตาบอดจูงคนตาบอดไม่รู้ไม่เห็นทาง กลับทำตัว เป็นผู้นำทางแล้วเดินไปโดยไม่รู้จุดหมาย ตั้งแต่ผู้เขียนอายุ 13 ปีจนถึง 76 ปี ก็สอนและแนะนำให้พรญาติโยมมาโดยตลอดว่าให้ได้ บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ทั้งที่ตนเองก็ไม่รู้ว่านิพพาน คืออะไร อยู่ที่ไหน ดีนะที่ไม่มีคนถามว่าท่านเทศนาและอวยพรให้ข้าพเจ้า ทั้งหลายบรรลุถึงพระนิพพาน แล้วนิพพานน่ะเป็นยังไง อยู่ที่ไหน

จะไปได้เมื่อไร ทำยังไงจะไปถึงได้ จะไปได้ด้วยอะไร จะไปกับใครหากคำถามดังกล่าวนี้ประดังเข้ามา คงไม่มีคำตอบ เพราะตนเองก็ไม่รู้เหมือนกันได้แต่บอกไปอย่างนั้น ลักษณะดังกล่าวมานี้ ผู้เขียนเป็นอย่างนี้มาโดยตลอด ทั้งที่ตนเองทำอยู่พูดอยู่ แต่ไม่รู้ การงานอะไร ก็ตามทั้งที่ตนเองก็ไม่รู้กลับฝืนทำฝืนพูด นี่แหละเรียกว่าเป็นคนผิดอย่างชัดเจน คนที่เดินทางไป แต่ไม่เห็นทาง หรือไม่เห็นทางแต่เดินทางไป นี่เรียกว่าคนตาบอด คนที่ยกของไม่ขึ้น หรือไม่มีกำลังยกของนั้นเรียกว่าคนไม่มีกำลัง เรื่องดังกล่าวมานี้ ผู้เขียนประสบกับตนเองมาแล้วทั้งสิ้นหนังสือ "ทางเดินสู่พระนิพพาน" นี้มีเนื้อความตรงกันข้ามกับเรื่องที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ผู้ที่อ่านและเข้าใจในหนังสือเล่มนี้ดีจะเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน อันมรรคผล
นิพพานนั้นมิได้อยู่ในป่า ภูเขา วัด หรือที่บ้านแต่อย่างใด จิตเจตสิก รูปอยู่ที่ไหน มรรคผลนิพพานก็อยู่ที่นั่นนี่แหละสิ่งที่ขอกล่าวไว้เป็น เบื้องต้น(หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม)สำนักวิปัสสนาภาวนาอนัตตาราม (ถ้ำวัว)
ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

                                                               คำนำ


หนังสือเล่มนี้มิใช่หนังสือเล่มที่ดีที่สุด แต่มีหนังสือเล่มนี้เล่มเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าถึงพระนิพพาน หลายคนอาจไม่เข้าใจว่า "พระนิพพาน" มีความสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์อย่างไรเหตุใดเจ้าชายสิทธัตถะจึงต้องสละราชสมบัติ ออกจากราชวังเพื่อไปแสวงหาพระนิพพาน โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน หลายคนอาจเข้าใจ แต่ไม่รู้ว่าวิธีการที่จะเข้าถึงพระนิพพานนั้น หรือจะปฏิบัติอย่างไรให้ได้ผลอย่างจริงจัง ความไม่เข้าใจ และความสับสนดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้หลายต่อหลายคนถึงกับหมดอาลัยคิดน้อยใจอยู่ว่า "ตนเป็นคนมีบุญวาสนาน้อยบ้าง มีบารมีไม่ถึงบ้าง หรือนิพพานเป็นสิ่งที่สูงเกินไปบ้าง"เกิดมาพบคำสอนที่ดีแล้ว โอกาสที่จะได้รับของดีจึงจบสิ้นไปอย่างน่าเสียดายหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ในฐานะที่เคยประสบความหมดหวังเช่นเดียวกับหลาย ๆ ท่านดังกล่าวแล้วได้เล็งเห็นประโยชน์อย่างมหาศาลที่จะพึงมีแก่ผู้ประสงค์เข้าถึงเป้าหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา จึงเขียนหนังสือ "ทางเดินสู่พระนิพพาน" ขึ้นมาเพื่อจุดประกายแห่งธรรมะให้ลุกโชนขึ้นมาในจิตใจของชาวพุทธโดยชี้ชัดถึงวิธีการปฏิบัติที่ได้มรรคผลนิพพานอย่างแท้จริงตามคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า หลวงพ่อได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า"พระนิพพานนี้ จะเดินไปทางไหน ไปอย่างไร ไปกับใคร จะถึงเมื่อไรเมื่อถึงแล้วจะมีผลอย่างไร" เป็นการแนะวิธีการปฏิบัติที่ทำแล้วได้ผล

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมเพื่อเข้าสู่ความเป็นชาวพุทธแท้ หรือเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ความเข้มข้นอยู่ที่การเน้นให้เห็นว่า "พระพุทธ-ศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา" พระพุทธเจ้าทรงมอบ "ปัญญา"ไว้ให้แก่มวลมนุษยชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงมรรคผล นิพพาน
อันเป็นประโยชน์สูงสุดซึ่งมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดมาควรจะได้รับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน หลวงพ่อได้แนะนำให้ใช้ปัญญานำหน้า กล่าวคือ "ปัญญา ศีล สมาธิ" ตามมรรคมีองค์ 8ปัญญาในองค์มรรคนี้ก็คือ "วิปัสสนาภาวนา" นั่นเอง ซึ่งหมายถึงสัมมาทิฐิ (วิปัสสนา) สัมมาสังกัปปะ (ภาวนา) การปฏิบัติจึงเน้นไปที่"การเจริญปัญญาสองประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเข้าถึงพระนิพพาน(อนัตตา)" เพราะปัญญาเป็นใหญ่ในกิจคือการเจริญมรรคผล ดังนั้นเมื่อปัญญาบริสุทธ์ิแล้ว (เข้าถึงมรรคผล)ศีลและสมาธิก็บริสุทธ์ิขึ้นมาพร้อมกันที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขอกล่าวไว้ในที่นี้ก็คือ การเทศนาสั่งสอนหรืองานเขียนของหลวงพ่อจะไม่ทิ้งหลักแห่งพระบาลีอันเป็นคำสอนของพระพุทธองค์เลย ทุกครั้งที่มีการเทศนา สนทนา
หรือเขียนธรรมะจะมีการยกบาลีมาประกอบเป็นตัวอย่างเสมอจะมีทั้งการแยกศัพท์ วิเคราะห์ศัพท์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วอธิบายให้เห็นอย่างตรงไปตรงมา คำสอนจึงง่ายต่อการทำความเข้าใจและการลงมือปฏิบัติ ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้วหลังจากที่ได้ไปปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อ หลวงพ่อได้มอบหนังสือเล่มนี้ให้โดยกล่าวว่า "นี่คือกุญแจแห่งมรรคผลที่หลวงพ่อได้เทศน์สอนและอบรมอยู่ในหลายปีที่ผ่านมา ท่านมหาช่วยแปลและจัดพิมพ์ภาคภาษาไทยให้ด้วย" หนังสือดีมีประโยชน์อย่างใหญ่

หลวงต่อวงการพระพุทธศาสนาและหายากอย่างนี้ ผู้แปลจึงน้อมรับมาด้วยความเคารพ ยินดีที่จะได้ช่วยหลวงพ่อทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ธรรมที่หลวงพ่อเขียนนี้มีความชัดเจนตรง ประเด็น
และทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ หลวงพ่อได้ให้หลักการหรือแนวทางในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ยาก หากมีความแน่วแน่และเพียรทำจริง โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิบัตินั้น หลวงพ่อได้เน้นเสมอว่า "การศึกษาไม่จำเป็นต้องมาก แต่ต้องให้เข้าใจหลักอย่างชัดเจน แล้วลงมือปฏิบัติให้ มากมรรคผลไม่ต้องหวัง เพียงแต่ทำเหตุ"หนังสือเล่มนี้จะสะกิดความคิดให้ผู้อ่านได้ทบทวนถึงความเข้าใจพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในหลักธรรมที่หลายคนไม่ค่อยพูด ถึงไม่ใส่ใจหรือละเลยไป ทั้งที่เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงมรรคผล เมื่อได้อ่านจะยิ่งสร้างศรัทธาในการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และเมื่อลงมือปฏิบัติ ผลแห่งการปฏิบัติก็จะยิ่งเพิ่ม พูนซึ่งจะส่งผลให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีพบกับสาระและคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต ผู้แปลมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะ
ทำหนังสือที่มีคุณค่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการพระพุทธศาสนาจึงพยายามให้ดีที่สุด หากแม้นว่ามีข้อผิดพลาดใดเกิดขึ้น ขอรับไว้เพื่อปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไปอนุโมทนาแด่คณะศิษย์หลวงพ่อที่ได้เอาใจใส่ช่วยเป็นภาระตรวจทาน พระมหาหมวด พระมหาสุวิสุทธ์ิ สามเณรตุ่มคำ อาจารย์วีระโยมน้อย โยมสุปราณี โยมวันชัย โยมเล็ก โยมขวด โยมมณฑิรารวมถึงคณะญาติโยมที่ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์หนังสือ ทุกท่าน
พระมหายาจินต์ ธมฺมธโร

                                                            คำนิยม
ในช่วงเวลาของชีวิตที่ผ่านมา ผ่านช่วงเวลาที่สนุกสนาน ในวัยเด็กที่รับผิดชอบต่อการเรียนเป็นหลักโดยเรียนในสายวิทยาศาสตร์มาตลอด จนจบมหาวิทยาลัยและออกมาทำงานผ่านสุขผ่านทุกข์เรื่อยมาโดยคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต มีความตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ได้เห็นการเกิดและการตายมาตลอดการทำงาน โดยคิดว่าการเกิดคือการคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้วหัวใจเต้นมีลมหายใจร้องไห้ได้ และการตายก็คือการที่หัวใจหยุดเต้น ไม่ได้รู้สึกอะไรมากกว่านี้ มีคนเคยถามว่าเสียใจไหมเวลาคนไข้ตาย มักจะตอบว่าถ้าได้พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถแล้วไม่เสียใจ แต่ก็มีบางครั้งที่น้ำตาไหลกับความเศร้าโศกของญาติผู้ตายบ้างเนื่องจากการเป็นพุทธศาสนิกชนโดยกำเนิด ได้เห็นแม่ชอบไปทำบุญที่วัดโดยจะได้ติดตามไปด้วย วันนั้นแม่จะมีความสุขและอิ่มเอิบใจอย่างมาก ทำให้มีความทรงจำที่ดีแต่หลังจากที่เรียนสูงขึ้นก็ไม่ได้ไปวัดเพื่อทำบุญอีก แต่ ณ วันหนึ่งเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2549มีพระรูปหนึ่ง ผู้ที่เป็นเสมือนญาติสนิทเป็นกัลยาณมิตรตลอดเวลาที่ท่านบวชมาคอยหาหนังสือธรรมะมาให้อ่านแต่ก็ไม่เคยอ่านสักครั้ง หนึ่งท่านมาบอกว่าให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อธีเนื่องจากท่านได้ไปปฏิบัติมาแล้วและเป็นประโยชน์กับท่านอย่างมากเกิดดวงตาเห็นธรรมจึงอยากให้ไปปฏิบัติดู หลังจากที่ได้รับปากกับท่านแล้วจึงได้วางแผนลางานแล้วไปทดลองปฏิบัติดูโดยในใจคิดว่าอยากจะลองนั่งสมาธิดูว่าจะเป็นอย่างไร เนื่องจากยังไม่เคยทำ

อย่างจริงจัง อย่างดีก็ 5-10 นาที 4-5 ครั้งในตลอดชีวิตที่ผ่านมาแต่เมื่อเริ่มเข้ารับการอบรมในวันแรกก็ได้รับการสอนว่า คนเราเมื่อตายไปจะมีที่ไป 5 ทาง ไปอบายภูมิ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ไปเกิดในชั้นรูปพรหม หรือชั้นอรูปพรหมและเข้าสู่พระนิพพาน ขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของเรา นี่เป็นปฐมบทของความรู้ความเข้าใจในพุทธศาสนาเรื่องแรกที่ได้รับพร้อมกับคำถามมากมายในใจ ณ เวลานั้น แต่ในเวลาอีก 3 วันต่อมาได้เข้าใจเกี่ยวกับวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์และมรรคมีองค์ 8 ชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับผ่านกระบวนการปฏิบัติวิปัสสนาโดยเฝ้าดูและพิจารณาจากทุกข์ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน แล้วทำให้เห็นและเข้าใจถึงสังขารการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างล้วนส่งผลเป็นอนิจจังทุกขัง และอนัตตา ตามกฎแห่งไตรลักษณ์หลังจากการเข้ารับการอบรมวิปัสสนากรรมฐานในครั้งนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต มุมมองของการเกิดและการตายเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงของชีวิตมีเหตุและมีผล ตามเหตุและปัจจัยที่เกิดจากกรรมคือการกระทำของเราตั้งแต่อดีตชาติเหตุในปัจจุบันชาติจะส่งผลถึงปัจจุบันและในอนาคตทั้งชาตินี้และชาติต่อไป ที่สำคัญเริ่มมีความคิดที่อยากจะหลุดพ้นจากความทุกข์ซึ่งก็คือการไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่นั่นเอง นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน โดยมีท่านอาจารย์หลวงพ่อธีเป็นผู้ชี้แนวทางน.พ. นพรัตน์ พานทองวิริยะกุลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด

สารบาญ
คำปรารภ (2)
คำนำผู้แปล (5)
คำนิยม (8)
สารบาญ (10) ปณามพจน์
ตอน 1
พระพุทธศาสนา คืออะไร 3
พระพุทธศาสนาแท้จริง "เป็นปัญญา" 9
บุคคลในพระพุทธศาสนา คือใคร 10
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ 12
ศีล สมาธิ วิปัสสนา ปฏิบัติตามแล้วจะพาไปไหน 14
ทางเดินของสัตว์โลก 18
ตอน 2
กรรมฐานอยู่ที่ไหน? เหตุใด จึงเรียกว่า "กรรมฐาน" 22
ใคร คือผู้แสดงธรรมบอกกรรมฐาน 29
บุคคลผู้ไม่เห็นการเกิดดับ 30
สติปัฏฐาน 4 31
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ตอน 3
ความทุกข์มาจากไหน 39
ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์ 42
เห็นอนิจจัง แต่ไม่เห็นทุกขัง 44
ผู้บัญชาหมู่สัตว์ 45
เหล็กแหลมที่ปักอกอยู่ ทำอย่างไรให้หายเจ็บ 47
วิธีปฏิบัติสมถภาวนา 49
ตอน 4
ขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนา 51
หา เห็น ตัด ถึง 53
การปฏิบัติวิปัสสนาต้องใช้หลัก "หา เห็น ตัด ถึง" 54
หลักการปฏิบัติวิปัสสนา 54
การปฏิบัติในกรณีที่ธาตุ 4 สงบนิ่ง 55
การเห็นและการพิจารณาให้เห็นอนัตตา 57
เหตุทุกข์และเหตุสุข 62
พัฒนาการแห่งญาณในการเจริญวิปัสสนาภาวนา 64
ตอน 5
เมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผล 67
หากไม่มีเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผล 69
มรรคและผล 71
พระพุทธเจ้าไม่ทรงรบกับผล 73
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ธรรมมีเพียงเหตุกับผล 75
วิธีการตัดทำลายเหตุกับผล 77
ตอน 6
เอโก ธัมโม ธรรมมีอย่างเดียว 80
มรรคมีองค์ 8 "ทางสายเอกสู่พระนิพพาน" 83
วิธีประพฤติตามมรรคมีองค์ 8 84
มรรคมีองค์ 8 ในข้ออุปมา 84
ดูและพิจารณาให้เห็นอนัตตา 85
ตอน 7
พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญญานำหน้า 88
ความสามารถของสัมมาทิฐิ 90
สัมมาทิฐิเปรียบดังดวงจันทร์ในหมู่ดาว 92
สัมมาทิฐิเปรียบดังรอยเท้าช้าง 93
สัมมาทิฐิกับวิปัสสนาคือสิ่งเดียวกัน 94
สัมมาสังกัปปะทำงานอย่างไร 95
สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากต่อสัมมาทิฐิ 97
ปัญญาไม่เกิด สัมมาทิฐิไม่มี 98
ปัญญาดุจจันทร์ สมาธิดุจดาว 100
ตอน 8
สิ่งที่สามารถทำลายอัตตาได้ 102
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
พระสององค์หาธรรมพบในตน 103
ปัญญาไม่มี ศีลไม่ใส ใจไม่บริสุทธ์ิ 105
หากมี "สัมมา" พระอรหันต์ไม่สูญ 107
ใครเป็นผู้หา ใครเป็นผู้ถอน 109
ผู้กำจัดตัณหาเสียได้ เป็นยอดคน 110
ตอน 9
วิธีการปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยเจ้า 113
ไปนิพพานไปทางไหน? 115
บันไดสู่พระนิพพาน 117
หากประสงค์พระนิพพานให้ค้นหาที่ธาตุ 118
พระนิพพานนี้ ขอปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ไหม 120
นิพพานอยู่ที่ไหน จะไปทางไหน 123
นิพพานไปทางไหน อยู่ที่ใจเห็น 124
การตัดกิเลส 3 ระดับ 125
เมื่อเห็นสัจจะก็พบพระนิพพาน 126
หากต้องการพระนิพพานให้เดินตามรอยพระกุลลเถระ 127
ตอน 10
พระพุทธเจ้าทรงประกาศชัยชนะ 129
พระอัสสชิเถระแสดงธรรมแก่พระสารีบุตร 131
ธรรมของพระสารีบุตรเถระ 134
ธรรมของพระวชิราเถรี 136
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
อริยสัจ 4 138
ธรรมที่มีบท 4 อริยสัจ 4 ประเสริฐที่สุด 141
รู้ถูกต้อง ทำถูกต้อง ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง 142
ตอน 11
จำนวนพระพุทธเจ้า 147
พบเห็นพระพุทธเจ้าหรือยัง? 149
จำนวนผู้บรรลุพระนิพพาน 151
หากไม่พ้นโลกก็ไม่สงบเย็น 152
ตอน 12
บุคคลผู้ได้บรรลุมรรคผล 5 ประเภท 156
บุคคลผู้ได้มรรคผล 4 คน 158
บุคคลผู้บรรลุธรรมได้ 3 ประเภท
บรรลุธรรมไม่ได้ 1 ประเภท 159
บุคคลผู้ไม่บรรลุพระนิพพาน 5 ประเภท 160
อันตรายที่ขวางกั้นทางสู่พระนิพพาน 5 อย่าง 161
วิธีแก้ไขอันตราย 5 อย่าง 162
เครื่องกังวล (ปลิโพธ) ที่เป็นเหตุให้ไม่บรรลุมรรคผล 163
สิ่งขวางกั้นวิปัสสนา 164
อันตรายแห่งวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ 165
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ตอน 13
ใครเป็นผู้ทำผิด (ทำกรรม) 168
หมู่สัตว์ล้วนถูกจองจำ ใครสามารถหลุดรอดไปได้ 170
ธรรมใดประเสริฐที่สุด 172
วิราคธรรมเป็นธรรมประเสริฐที่สุด 173
สิ่งยอดเยี่ยม 8 ประการ 174
ผู้มีอำนาจเหนือเทวดา มนุษย์ พรหม 176
เราก็เป็นอย่างเขา 178
ตอน 14
ผู้ไม่รู้ กับ ผู้รู้ 180
ลักษณะธรรมส่ง มรรครับ 181
ลักษณะอาการหลังเกิดสภาวธรรม 183
ลักษณะหลังเกิดสภาวธรรมอีกอย่างหนึ่ง 184
พระโสดาบัน 7 องค์ 185
ใจที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย 187
จิตพระอรหันต์ 189
พระอริยเจ้า 2 ประเภท 189
พระอริยเจ้า 108 จำพวก 190
ผลสมาบัติ การเสวยผลของผู้เห็นธรรม 192
เป็นความจริงหรือไม่? 193
สัจจะ กับ วัฏฏะ 194
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ตอน 15
ปฏิจจสมุปบาท 195
ผลแห่งอวิชชาในชาย 197
ผลแห่งอวิชชาในหญิง 198
ผลแห่งอวิชชาและตัณหา 198
กามตัณหา ภัยน่ากลัว 199
ทิฐิและอวิชชา อุปมาดังสุนัขจิ้งจอกหิวตาย 200
ไม่ควรลืมอนัตตา 201
อนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ 202
ตอน 16
จงค้นหาพระนิพพานที่ธาตุ 4 203
ปุถุชนเป็นเช่นนี้ 204
คนโง่ 4 คน 204
นี่แหละคน 207
ทำไมคนจึงเป็นเช่นนี้ 207
จุดต่างระหว่างอวิชชากับวิชชา 208
ไม่พ้นอวิชชา ไม่พ้นวัฏสงสาร 209
โทษแห่งกามคุณ 12 ประการ 209
อวิชชาและตัณหาเปรียบดังตัวหนอนที่ผูกใยพันตนเอง 211
สิ่งที่น่าเกรงขาม 10 ประการ 212
ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ตอน 17
พระพุทธเมตตา 214
คุณแห่งพระธรรม 215
คุณแห่งพระสงฆ์ 215
คำอนุโมทนาท้ายเล่ม 216
ภาคผนวก
ประวัติหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
ชาติภูมิ 217
การศึกษาและเหตุการณ์สำคัญในชีวิต 217
ความทุกข์เจียนตายในชีวิตเกิดขึ้น 5 ครั้ง 220
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมครั้งสำคัญ 221
พิสูจน์ธรรม 226
เผยแผ่ธรรมและสร้างสำนักปฏิบัติธรรม 228

อ่านต่อตอนที่2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons