วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่5

portee2

                                                                  อริยสัจ 4
                 ทุกขสัจ คือ อะไร  ปีฬะนัตถะโต สังขะตัตถะโต สันตาปัตถะโต จะ วิปะริณา- มัตถะโต จาปิ ทุกขัญเญวะ จะตุพพิธัง ภาสิตัง ฯความว่า ปีฬะนัตถะโต-มีความเบียดเบียนเจ็บปวดร้อนหนาวอยู่ตลอด สังขะตัตถะโต-ปรุงแต่งอยู่เสมอมิว่างเว้น สันตาปัตถะโต-สร้างความเดือดร้อนโดยการเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่อย่างต่อเนื่องวิปะริณามัตถะโต-สับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงภาวะความเป็น คือเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานอยู่เนือง ๆ ทุกขัญเญวะ-นี่แหละเรียกว่า "ความทุกข์" จะตุพพิธัง ภาสิตัง-ท่านกล่าวไว้ว่า มี4 ประการความทุกข์มีลักษณะ 4 ประการ คือ
               1. ความเบียดเบียนเจ็บปวดร้อนหนาว
               2. ความปรุงแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
               3. ความเดือดร้อนโดยการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่อย่างต่อเนื่อง
               4. ความสับเปลี่ยนเป็นเทวดาบ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง อยู่เนือง ๆ
สมุทัยสัจ คือ อะไรอายูหะนา นิทานา สังโยคา จะ ปะลิโพธา ทุกขะสะมุทะ- ยัสสาปิ จะตุพพิธา วะ ปะกาสิตา ฯความว่า อายูหะนา จะ-การปรุงแต่งให้ได้มาซึ่งกองแห่งทุกข์ก็ดี นิทานา จะ-การส่งมอบมาให้ซึ่งกองแห่งทุกข์นี้ก็ดี สังโยคา จะ-การหุ้มห่อร้อยรัดยื่นส่งให้ซึ่งกองแห่งทุกข์นี้ก็ดี ปะลิโพธา-การหลีกเลี่ยงปิดบังมิให้เห็นมรรคผลนิพพานก็ดี ทุกขะสะมุทะยัสสาปิ-เป็นสมุทัยฐานเกิดแห่งทุกข์นั่นเอง ปะกาสิตา-ท่านประกาศไว้จะตุพพิธา วะ-มี 4 ประการฐานเกิดหรือต้นเหตุแห่งทุกข์มีลักษณะ 4 ประการ
              1. การปรุงแต่งให้ได้มาซึ่งกองแห่งทุกข์
              2. การส่งมอบให้ซึ่งความทุกข์นี้
              3. การรึงรัดผูกพันไว้แล้วส่งให้ซึ่งความทุกข์
              4. การกีดกั้นปิดบังมิให้เห็นมรรคผลนิพพาน
ลักษณะ 4 ประการนี้เรียกว่า "สมุทัย" เหตุแห่งทุกข์นิโรธสัจ คือ อะไรนิสสะระณัง วิเวกา จะ อะสังขะโต ตะถา อะมะโตทุกขะนิโรธัสสะ จะตุพพิธา สะมีริตา ฯนิสสะระณัง จะ-การสลัดออกจากวัฏสงสารก็ดี วิเวกา-การที่กิเลสดับเย็นไปก็ดี อะสังขะโต-รูปนามสงบเย็น ไม่ปรุงแต่งก็ดีตะถา-นอกจากนี้ อะมะโต-ความไม่ตายเป็นอมตะก็ดี ทุกขะ-นิโรธัสสะ-ความดับแห่งทุกข์ จะตุพพิธา สะมีริตา-ท่านกล่าวว่า มี 4 ประการ นิโรธคือการที่ทุกข์ดับไปมีลักษณะ 4 อย่าง คือ
            1. การสลัดออกจากวัฏสงสารได้
            2. กิเลสดับสนิท
            3. รูปนามสงบเย็น
            4. บรรลุถึงความเป็นอมตะ (ไม่ตาย)มรรคสัจ คือ อะไรนิยยานา จะ เหตุ จะ ทัสสะนัญจะ อะธิปปเตยยะตา จะจะตุพพิโธ มัคโค ฯนิยยานา จะ-การออกจากวัฏสงสารก็ดี เหตุ จะ-เหตุแห่งการออกจากทุกข์ก็ดี ทัสสะนัญจะ-การเห็นมรรคผลนิพพานก็ดีอะธิปปะเตยยะตา จะ-ปัญญาอันเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวงก็ดี
ลักษณะ 4 เหล่านี้ คือมรรคมรรคคือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับต้นเหตุแห่งทุกข์มีลักษณะ 4 อย่าง
           1. วิธีแห่งการออกจากวัฏสงสาร
           2. เหตุแห่งการออกจากทุกข์
           3. การเห็นมรรคผลนิพพาน
           4. ความเป็นยอดแห่งความรู้ทั้งมวล คือมรรคเป็นยอดธรรม
อริยสัจ 4 นี้ ว่าโดยรวมแล้ว ทุกขสัจมีองค์ 4 สมุทยสัจมีองค์4 นิโรธสัจมีองค์ 4 มัคคสัจมีองค์ 4 ดังนั้น องค์แห่งอริยสัจทั้งสิ้นจึงมี 16 ธรรมที่มีบท 4อริยสัจ 4 ประเสริฐที่สุดบทกล่าวคือธรรมที่ประกอบด้วยองค์ 4 มี  1. สติปัฏฐาน 4 2. สัมมัปปธาน 4   3. อิทธิบาท 4 4. อรูปฌาน 46. พรหมวิหาร 4 7. อริยสัจ 4ในบรรดาธรรมที่มีองค์ 4 นี้ อริยสัจ 4 ประเสริฐที่สุดเพราะเหตุใด จึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นสรุปลงคือมีอยู่ในอริยสัจ 4 ทั้งสิ้น อริยสัจ 4 นี้ประกอบด้วย
          (1) ความทุกข์ เรียกว่า “ทุกขสัจ”
          (2) สาเหตุของความทุกข์ เรียกว่า “สมุทัย”
          (3) การที่ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์ดับไป เรียกว่า “นิโรธ”
          (4 ) วิธีทำให้เหตุแห่งทุกข์ดับไป เรียกว่า “นิโรธ”
ธรรมคืออริยสัจ 4นี้เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วเป็นเรื่องของเหตุกับผลสองคู่เท่านั้น คือผลทุกข์กับเหตุทุกข์คู่หนึ่ง (ทุกข์และสมุทัย)ผลสุขกับเหตุสุขคู่หนึ่ง (นิโรธและมรรค)รู้ถูกต้อง ทำถูกต้อง ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องสัจจญาณในทุกขสัจ คือรู้ความจริง ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้จนเข้าใจในขันธ์ 5 รวมเรียกว่า "รูปและนาม" อย่างแจ่มแจ้งว่า "รูปขันธ์ตั้งแต่หัวจรดเท้าของทั้งเทวดาและมนุษย์ เป็นกองแห่งความทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นอีกนอกจากความทุกข์" ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งอย่างนี้นี่แหละเรียกว่า "สัจจญาณ รู้ถูกต้อง" หรือญาตปริญญา กล่าวคือ รู้แจ่มแจ้งในขันธ์ 5 นี้ว่าอาการหนัก แข็ง หยาบ กระด้าง เบา อ่อนนิ่ม เป็นปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาการซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมเป็นอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) อาการเย็น ร้อน อุ่น หนาว เป็นเตโชธาตุ(ธาตุไฟ) อาการเจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่งเป็นวาโยธาตุ (ธาตุลม)หากอาการใดเกิดขึ้นมาก็ใช้สัมมาทิฐิดูและสัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ของเรา การกระทำอยู่อย่างนี้เรียกว่า"กิจจญาณหรือตีรณปริญญา ทำถูกต้องหรือพิจารณาถูกต้อง"ทุกขสัจจะ กตญาณ คือการเห็นและพิจารณาจนเข้าใจว่า"รูปนามหรือขันธ์ 5 ที่เกิดดับ ๆ อยู่นี้เป็นอนัตตา" เป็นกตญาณ คือรู้ว่า "ได้ทำในสิ่งอันถูกต้องแล้ว"สัจจญาณในสมุทัยสัจ คือความรู้อันถูกต้อง กล่าวคือการรู้ว่า"การได้มาซึ่งขันธ์ 5 นี้เป็นเพราะตัณหา คือ โลภะ มานะ และอัตตทิฐิ"ความอยากได้ในสิ่งสมมติหรือบัญญัติทั้งหมดเรียกว่า "โลภะ"ความเย่อหยิ่งจองหองว่า "เรามี" เช่น เรามีฐานะ เรามีบริวาร เรามี

            สติปัญญาความรู้ความสามารถ เรามีลูก เรามีสามีภรรยา เป็นต้นเรียกว่า"มานะ" ความยึดถือว่า "มีตัวกู มีของกู" เรียกว่า "อัตตทิฐิ"ธรรมทั้ง 4 ประการนี้เรียกว่า "สมุทยสัจจญาณ ความรู้ถึงความจริงอันเป็นสาเหตุ"ในขณะที่สมุทยสัจ คือ โลภะ มานะ อัตตทิฐิเกิดขึ้นมานั้นการใช้สัมมาทิฐิเห็นสภาวะที่เป็นอนัตตา และสัมมาสังกัปปะคิดพิจารณาวางอัตตาทุก ๆ ขณะจิต การเห็นและพิจารณาอย่างนี้เรียกว่า "สมุทยปหานปริญญา" หรือเรียกว่า "กิจจญาณ" ก็ได้"มรรคญาณ" ก็ได้ในขณะที่สัมมาทิฐิเห็นอัตตาอยู่และสัมมาสังกัปปะ ก็พิจารณาว่าเป็นอนัตตาอยู่นั้น มรรคญาณก็จะเกิดขึ้นมาตัดอัตตทิฐิขาดสะบั้นลงไปนั้นเรียกว่า "กตญาณ หรือผลญาณ"สัจจญาณในนิโรธสัจ คือ การที่สมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับลงไปแล้วสงบเย็นอยู่นั้นเรียกว่า "กิเลสนิโรธ" การที่ขันธ์ 5 ดับสงบลงนั้นเรียกว่า "ขันธนิโรธ" การศึกษาจนเข้าใจในความเป็นจริงอันถูกต้องนั้นเรียกว่า "นิโรธสัจจญาณ" หรือความรู้ถึงความจริงว่า "กิเลสได้ดับสงบเย็นลงไปแล้ว" เป็นนิโรธสัจจกตญาณสัจจญาณในมรรคสัจ คือสัมมาทิฐิความเห็นรูปธาตุนามธาตุที่เป็นสภาวะแห่งอนัตตา สัมมาสังกัปปะ ความพิจารณาว่ารูปและนามนี้เป็นอนัตตา การเห็นและพิจารณาในรูปนามได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงอย่างนี้นี่แหละเรียกว่า "สัจจญาณ ญาณรู้ความจริง"กิจจญาณในมรรคสัจ คือการใช้สัมมาทิฐิ เห็นจดจ่ออยู่ที่  มโนวิญญาณธาตุและที่เวทนา ซึ่งเป็นนามทั้งสองประการนี้ ทีนี้ ธาตุภายในรูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป และตรงที่จิตก็เกิดอุทธัจจกุกกุจจะ-ความฟุ้งซ่าน และเกิดกามวิตก-ความคิดนึกไปในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อยู่ โดยผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ในบรรดาสิ่งเหล่านี้ สิ่งไหนเกิดขึ้นมาก็ตาม จะมาปรากฏที่มโนวิญญาณธาตุ และเวทนานี้เอง ทีนี้ก็ให้ใช้สัมมาทิฐิสังเกตดูให้เห็นสภาวะความเป็นอนัตตาของรูปนามในขณะที่รูปนามเกิดขึ้นมาให้สัมมาทิฐิเห็นอยู่อย่างนั้น ให้ใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ในขณะที่ดูและพิจารณาอยู่อย่างนี้เรียกว่า "กิจจญาณ ความรู้ในสิ่งที่ควรทำ"ช่วงแห่งมัคคสัจจกตญาณ คือในช่วงเวลาที่เห็นรูปนามเป็นสภาวะแห่งอนัตตาและพิจารณาว่า "เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา" อยู่นั้นที่นี้อัตตาตัวตนก็หลุดออกไปเกิดอนัตตาขึ้นมาแทนที่ นี่แหละเรียกว่า"มัคคสัจจกตญาณ" หรือเรียกว่า "มรรคญาณ"
อริยสัจ 4 ประการนี้ หากกล่าวให้เข้าใจง่ายมี 12 คำ
            1. รู้ถูกต้อง 2. ทำถูกต้อง 3. ทำถูกต้องเสร็จแล้ว
            1. รู้ถูกต้อง 2.วางถูกต้อง 3. วางถูกต้องเสร็จแล้ว
            1. รู้ถูกต้อง 2. บรรลุถึงสิ่งที่ถูกต้อง
            3. บรรลุถึงสิ่งที่ถูกต้องเสร็จแล้ว
           1. รู้ถูกต้อง 2. เจริญถูกต้อง 3. เจริญถูกต้องเสร็จแล้ว

สัจจะ 4 ประการนี้เกิดขึ้นในวิถีเดียวกัน ไม่มีการประวิงรอคอยว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในวันนี้ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นพรุ่งนี้อนึ่ง สิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาแต่ก่อนหน้านี้ก็คือ "รู้ วาง ถึงเจริญ" (พม่าว่า"ซิ แปะ ซิก ปวา) คำ 4 คำดังกล่าวมานี้เป็นวิธีการสอนของพม่า ที่ปฏิบัติตามแล้วไม่เกิดมรรคเกิดผล ไม่ได้ชิมรสพระนิพพานส่วนการปฏิบัติที่ได้ผล คือ "หา เห็น ตัด ถึง" หา สัมมาสังกัปปะเป็นผู้หาเห็น สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็น ตัด มรรคญาณเป็นผู้ตัดอัตตา ถึง เป็นผลญาณคำว่า "พระพุทธเจ้า" ก็คือผู้ตรัสรู้ แทงตลอด สงบเย็น คือรู้ผลวางเหตุแล้วพบสุขที่สงบเย็น หากเราเข้าถึงด้วยการรู้เห็น แทงตลอดสงบเย็นเช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่า "เป็นพุทธบุตร"พระอริยเจ้าที่ออกจากโลกแห่งการตายเกิดแล้วเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นโลกุตตระนั้น มีจำนวนมากมายไม่สามารถนับได้"โลก" ในที่นี้คือแหล่งตายเกิด เทวดาและมนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงที่สุดแห่งโลกได้เลย เพราะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในโลกคือวัฏสงสารอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต้องเวียนอยู่ในโลกแห่งการเกิดตายอย่างนี้ จึงไม่มีโอกาสถึงที่สุดแห่งโลกได้

            จำนวนพระพุทธเจ้าตัตถะ กิเลสะปะรินิพพานัง อัสสะถะมูเล, ขันธะปะรินิพพานัง กุสินารายัง, ธัมมะธาตุปะรินิพพานังอะนาคะตัง โหติ ฯเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธ์ิ เรียกว่า "พระกิเลสนิโรธพุทธเจ้า" พระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานที่ใต้ไม้สาละ ณ เมืองกุสินารา เรียกว่า "พระขันธ-นิโรธพุทธเจ้า" พระธรรมที่พึ่งอันประเสริฐของสรรพสัตว์ ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามแล้วก็จะก้าวสู่พระนิพพาน กล่าวคือ อริยมรรคมีองค์ 8ประการเรียกว่า "พระธรรมธาตุพุทธเจ้า" หากกล่าวถึงพระพุทธเจ้า(ผู้ตรัสรู้ธรรม) ว่า "มีจำนวนเท่าไร" ก็สามารถกล่าวได้ว่า "มีมากมายนับจำนวนไม่ถ้วน" แต่โดยสังเขปมี 3 องค์เท่านั้น คือ

           1. พระกิเลสนิโรธพุทธเจ้า
           2. พระขันธนิโรธพุทธเจ้า
           3. พระธรรมธาตุพุทธเจ้า
พบเห็นพระพุทธเจ้าหรือยัง?โย พุทธัง ปัสสะติ-ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าโส สาสะนัง ปัสสะติ-ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระศาสนาโย สาสะนัง ปัสสะติ-ผู้ใดเห็นพระศาสนาโส พุทธัง ปัสสะติ-ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้าหากได้เห็นพระพุทธเจ้าก็ชื่อว่า "ได้พบพระศาสนา" หากเห็นแจ้งในพระศาสนาก็ได้ชื่อว่า "พบพระพุทธเจ้า" ที่ได้ชื่อว่า"พระพุทธเจ้า" ก็เพราะทรงพบเห็นศาสนานั่นเอง คำว่า "ศาสนา"ก็คืออริยสัจ 4พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะตรัสรู้อริยสัจ 4นั่นเอง คำว่า "อริยสัจ" ก็คืออนัตตา คำว่า "อนัตตา" ก็คือธรรมะ ดังนั้น
คำว่า "พบพระพุทธเจ้า พบธรรมะ และพบปฏิจจสมุปบาท" นี้เป็นคำเดียวกัน คำว่า "ศาสนา" ก็คือปัญญา" และคำว่า "ปัญญา" นี้ก็คือพระพุทธเจ้า ดังบาลีว่า พุชฌะตีติ พุทโธ แปลว่า "ผู้ใดตรัสรู้ผู้นั้นชื่อว่าพระพุทธเจ้า" หมายความว่า "ผู้รู้แจ้ง แทงตลอด สงบเย็น"รู้อะไร ก็คือรู้ทุกข์ แทงตลอดอะไร ก็คือเป็นผู้วางเหตุแห่งทุกข์และรับผลสุขที่สุขสงบเย็น คำว่า "รู้แจ้ง แทงตลอด สงบเย็น" (ภาษาไทยใหญ่ว่า ฮู่หมอ แจ้งแลง ตี้กั๊ดเหยน) หมายถึงสัมมาทิฐิได้แก่การพบเห็นความเป็นจริงว่า "ขันธ์ 5 เป็นกองแห่งความทุกข์แล้ว
สามารถวางอัตตาโดยพิจารณาเห็นเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน" ที่ว่ารับผลสุข ที่ว่าสุขสงบเย็นก็เพราะอัตตาดับไปแล้ว ผลสุขคือนิโรธหรือนิพพานจึงเกิดขึ้นดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้ที่ตรัสรู้ แทงตลอด สงบเย็น
ซึ่งหมายถึงรู้ผลแล้ววางเหตุพบสุขที่สงบเย็น หากรู้แจ้ง แทงตลอดสงบเย็น เราก็ได้ชื่อว่า "เป็นพุทธบุตร" หรือพุทธสาวก คำว่า"ธรรมธาตุ" นั้น เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธเจ้า หากว่าเราสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงหัวใจสำคัญของพระพุทธเจ้าได้ เราก็ได้ชื่อว่า "เป็นพุทธบุตรอย่างแท้จริง"

               จำนวนผู้บรรลุพระนิพพาน  เวทะคู กายะสะเพตา ปะรัง ธัมมัฏฐา ขะยัง โนเปนติ ฯ เวทะคู-บุคคลผู้ข้ามพ้นไปจากโลกคือคุกแห่งการตายเกิด(พระอรหันต์ผู้หมดกิเลส) กายะสะเพตา-ผู้มีขันธ์ที่เป็นบัญญัติดับสนิทแล้ว ปะรัง-ภายหลังจากนั้น ธัมมัฏฐา-เป็นผู้มีอสังขตธาตุกล่าวคือมีขันธ์ที่ไม่ปรุงแต่งแล้วเข้าสู่อมตนิพพาน ขะยัง-ว่าโดยจำนวนแล้วโนเปนติ-นับไม่ถ้วนหมายความว่า พระอริยเจ้าที่ออกจากโลกแห่งการตายเกิดแล้วเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นโลกุตระนั้นมีมากมาย ไม่สามารถนับจำนวนได้หากไม่พ้นโลก ก็ไม่สงบเย็นคะมะเนนะ นะ ปัตตัพโพ โลกัสสันโต กุทาจะนังนะ จะ อัปปัตวา โลกัสสันตัง ทุกขา อัตถิ ปะโมจะนัง ฯโลกัสสันโต-ที่สุดแห่งโลกการตายเกิดกล่าวคือ พระนิพพานนั้น นะ ปัตตัพโพ คะมะเนนะ-จะไปถึงไม่ได้ด้วยการเดินไปกุทาจะนัง-ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว โลกัสสันตัง-เมื่อที่สุดแห่งโลกนั้นอัปปัตวา-ไปไม่ถึงแล้ว ปะโมจะนัง ทุกขา-การที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์นั้น นะ อัตถิ-เป็นอันไม่มีคำว่า "โลก" ในที่นี้คือแหล่งตายเกิด เทวดาและมนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงที่สุดแห่งโลกได้เลย เพราะต้องเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในโลกคือวัฏสงสารอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต้องเวียนอยู่ในโลกแห่งการเกิดตายอย่างนี้ จึงไม่มีโอกาสถึงที่สุดแห่งโลก หรือหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ หากพ้นจากทุกข์ก็พบสุข ที่สุดแห่งโลกนั้นเรียกว่า "โลกุตระ" บาลีว่า "โลกา อุตตะระตีติ โลกุตตะโร" แปลว่าโลกา-โลกแห่งการตายเกิดนั้น อุตตะระติ-ข้ามพ้นไปได้ อิติ-เพราะข้ามพ้นโลกไปได้นี้เอง จึงได้ชื่อว่า "โลกุตระ" คำว่า "โลกุตระ"นี้ มี 9 ภูมิ ดังนี้
                1. โสดาปัตติมรรค 2. โสดาปัตติผล
                3. สกทาคามิมรรค 4. สกทาคามิผล
                5. อนาคามิมรรค 6. อนาคามิผล
                7. อรหัตตมรรค 8. อรหัตตผล
                9. นิพพาน
หากบรรลุถึงโลกุตรภูมิเหล่านี้ เรียกว่า "ถึงที่สุดแห่งโลก"คือพ้นจากโลกได้แล้ว คำว่า "โสดาบัน" หมายความว่าผู้ไม่เดินกลับหลังคือมุ่งหน้าตรงต่อพระนิพพานอย่างเดียว โดยไม่หวนกลับไปเกิดในมนุษย์และในอบายภูมิ 4 อีก ดังที่ตรัสไว้ในกรณียเมตตสูตรว่าทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโนกาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรติแปลว่า ทัสสะเนนะ สัมปันโน-ผู้ถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรคสีละวา-มีโลกุตรศีลบริสุทธ์ิ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ-ไม่มีอัตตทิฐิกาเมสุ วิเนยยะ เคธัง-ปล่อยวางการยึดมั่นในวัตถุกามทั้งหลายได้แล้ว หิ ชาตุ-ความจริง ผู้ที่จะต้องเกิดประเภทนี้ นะ เอติ-จะไม่เข้าถึง (จะไม่เกิด) คัพภะเสยยัง-การถือปฏิสนธิในครรภ์ ปุนะ-อีกต่อไปพระบาลีนี้พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า "พระอนาคามีจุติจากโลกมนุษย์แล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์แล้วกลับมานิพพานในโลกมนุษย์" คำนี้ไม่สอดคล้องกับพระพุทธดำรัสในกรณียเมตตสูตรดังที่ได้ยกมากล่าวไว้ข้างต้นที่ว่า "ผู้ถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรค มีโลกุตรศีลบริสุทธิ์ ไม่มีอัตตทิฐิ ปล่อยวางการยึดมั่นในวัตถุกามทั้งหลายได้แล้ว ท่านจะไม่ถือปฏิสนธิในครรภ์อีกต่อไป"

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่าพระโสดาบันใช้มรรคญาณตัดอัตตทิฐิได้ขาดแล้ว กลายเป็นทิฐิวิสุทธิ ศีลก็ปลอดอัตตา เป็นโลกุตรวิสุทธิศีลแล้ว จิตก็ไม่ยึดติดในวัตถุกาม จุติแล้วจึงไม่ถือปฏิสนธิในครรภ์ ในไข่และในเถ้าไคล แต่ถือปฏิสนธิเป็นโอปปาติกะในสวรรค์แล้วก็จะนิพพานในสวรรค์พระพุทธองค์ตรัสว่า "ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ-สิ่งที่เห็นนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เห็น" เป็นอนัตตา มิใช่หญิงชาย มิใช่ตัวตน พระพาหิยะได้ฟัง
ธรรมเพียงเท่านี้ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในทันทีพระสารีบุตรได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระเพียงคาถาเดียวว่า"เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต" เป็นต้น ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลผู้ได้บรรลุมรรคผล 5 ประเภท บุคคลผู้ได้มรรคผล 5 ประเภท
               1. ผู้ได้ข่าว
               2. ผู้เห็นรูป
               3. ผู้ได้ยินเสียง
               4. ผู้ได้เห็นและได้ฟังเสียง
               5. ผู้ลงมือปฏิบัติ
บุคคล 5 ประเภทนี้ เป็นผู้ที่สามารถบรรลุมรรคผลได้บุคคลผู้ได้ข่าวได้แก่นางกาฬีเพียงได้ยินข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักรฯ ก็ใช้ศรัทธาตัดวิจิกิจฉาแล้ว สักกายทิฐิก็ดับลงพร้อมกัน เกิดเป็นพระโสดาบันขึ้นมา พระราชาพระนามว่าภคุนสาติเพียงได้ยินข่าวว่า "พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาอยู่ในเมืองราชคฤห์" ก็บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลผู้ได้เห็นรูป ได้แก่พระราชาพระนามว่ามหากัปปินะพร้อมข้าราชบริวารหนึ่งพัน และพระมเหสีพร้อมด้วยภรรยาของมหาอำมาตย์หนึ่งพันคน เพียงได้เห็นพระรูปพระพุทธเจ้า ก็ใช้ศรัทธาตัดวิจิกิจฉา อัตตาดับลงพร้อมกัน เข้าสู่การเสวยโสดาปัตติผลบุคคลผู้ได้ยินเสียง ได้แก่มิคารเศรษฐี พ่อสามีนางวิสาขาเป็นสาวกของนักบวชชีเปลือย ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับนางวิสาขาด้วยความจำใจ แต่นักบวชชีเปลือยบังคับให้มิคารเศรษฐีกั้นผ้าม่านเพื่อมิให้เห็นพระพุทธองค์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมมิคารเศรษฐีฟังธรรมอยู่หลังม่าน ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันโดยไม่เห็นพระพุทธองค์บุคคลผู้ได้เห็นและได้ฟัง ได้แก่นางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ได้เห็นและได้ฟังพระธรรมแล้วใช้ศรัทธาตัดวิจิกิจฉาอัตตาก็ดับลงพร้อมกัน บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลผู้ลงมือปฏิบัติ ได้แก่พระมหาสีวะตลอดจนถึงพวกเราท่านทั้งหลายที่เป็นปกติสาวก ซึ่งได้ศึกษาเรียนรู้ ได้ฟังและได้สอบถามแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงลงมือปฏิบัติแล้วใช้ปัญญาตัดอัตตทิฐิวิจิกิจฉาก็ดับพร้อมกันเข้าสู่ความเป็นโสดาบัน บุคคลประเภทที่ลงมือปฏิบัตินี้ สามารถเข้าสู่การบรรลุธรรมมีมากมายจนไม่อาจนับจำนวนได้

              บุคคลผู้ได้มรรคผล 4 คนประเภทที่ 1 เรียกว่า "ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา" ได้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยความทุกข์ยากลำบาก แต่บรรลุธรรมได้เร็ว เช่นพระเรวตะ ผู้เป็นน้องชายพระสารีบุตร เป็นต้นประเภทที่ 2 เรียกว่า "ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา" ได้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยความทุกข์ยากลำบาก ทั้งบรรลุธรรมได้ช้า เช่นพระมหาสีวะ เป็นต้นประเภทที่ 3 เรียกว่า "สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา" ได้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยความเรียบง่ายไม่ลำบาก ทั้งบรรลุธรรมได้ไว เช่นพระอัครสาวก และพระมหาสาวกประเภทที่ 4 เรียกว่า "สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา" ได้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติด้วยความง่าย ไม่ลำบาก แต่บรรลุธรรมได้ช้า เช่นปกติสาวกโดยทั่วไปบุคคลผู้บรรลุธรรมได้ 3 ประเภทบรรลุธรรมไม่ได้ 1 ประเภทบุคคลประเภทที่ 1 เรียกว่า "อุคฆฏิตัญญู" ได้แก่บุคคลผู้ฉลาดมีปัญญามาก ได้ฟังเพียงคาถาเดียวก็สามารถบรรลุธรรมได้เช่น พระพาหิยะ พระพุทธองค์ตรัสว่า ทิฏเฐ ทิฏฐะมัตตัง ภะวิสสะติ-สิ่งที่เห็นนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เห็น เป็นอนัตตา มิใช่หญิงชาย มิใช่ตัวตนท่านได้ฟังธรรมเพียงเท่านี้ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ในทันที พระสารีบุตรได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระเพียงคาถาเดียวว่า เย ธัมมาเหตุปปัปภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เป็นต้น ก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลประเภทที่ 2 เรียกว่า "วิปจิตัญญู" บุคคลประเภทนี้ได้ฟังอนุปุพพิกถาและพระธรรมต่าง ๆ แล้วต่อมาได้ฟังอริยสัจ 4 อีกก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี เช่นนางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ท่านทั้ง 2 นี้เป็นพุทธอุปฐากจะเกิดในสมัยพุทธองค์เท่านั้น แต่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า หากมีพระอรหันต์ ท่านทั้งสองนี้ก็เกิดอยู่บุคคลประเภทที่ 3 เรียกว่า "เนยยะ" ได้แก่บุคคลผู้ศึกษาพระธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอริยสัจ 4 จนเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนแล้วลงมือปฏิบัติอย่างเข้มข้นด้วยระยะเวลา 3 วัน 7 วัน 3 เดือน 7เดือน หรือจนถึง 40 ปี เช่น พระมหาสีวเถระ แล้วก็สามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ บุคคลผู้สามารถบรรลุธรรมได้มี 3 ประเภทดังกล่าวมานี้บุคคลประเภทที่ 4 เรียกว่า "ปทปรมะ" บุคคลประเภทนี้แม้ศึกษาก็ไม่เข้าใจ จำธรรมอะไรไม่ได้ เป็นคนสุคติอเหตุ คือ พิกลพิการไม่สมประกอบ บุคคลประเภทนี้ไม่สามารถเข้าถึงมรรคผลได้แต่การปฏิบัติวิปัสสนาของเขาจะเป็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมในชาติต่อไป บุคคลผู้ไม่บรรลุพระนิพพาน 5 ประเภท
           1. กัมมรัมมตา-บุคคลผู้ติดอยู่กับการงานที่ไม่เกี่ยวกับมรรคผล
           2. ภาสรัมมตา-บุคคลผู้ชื่นชอบอยู่กับการพูดคุย
           3. มิตตรัมมตา-บุคคลผู้คลุกคลีด้วยหมู่เพื่อนฝูง
           4. มิทธรัมมตา-บุคคลผู้มักมากในการนอน
           5. สังขารวิมุตตัง นะ ปัจจเวกขติ-บุคคลผู้ไม่พิจารณาค้นหาความหลุดพ้นจากเหตุทุกข์บุคคล 5 ประเภทนี้ไม่สามารถเข้าสู่มรรคผลได้อันตรายที่ขวางกั้นทางสู่พระนิพพาน 5 อย่าง
           1. กัมมันตราย-บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม คือ
               (ก) ฆ่าบิดา
               (ข) ฆ่ามารดา
               (ค) ฆ่าพระอรหันต์
               (ง) ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้พระโลหิตห้อ
               (จ) ยุยงสงฆ์ให้แตกสามัคคี
         2. วิปากันตราย-บุคคลผู้ต้องเสวยวิบากกรรม คือพิกลพิการแต่กำเนิด
         3. อนาติกกมันตราย-การล่วงละเมิด กล่าวคือพระสงฆ์ผู้ละเมิดทำผิดอาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส ฆราวาสละเมิดศีลเป็นคนไม่รู้ศีล ไม่รู้ธรรม
         4. อริยุปวาทันตราย-บุคคลผู้ประมาทติเตียนว่าร้ายพระอริยเจ้า
        5. ทิฏฐินตราย-บุคคลผู้เห็นผิด ถือผิด เช่น เชื่อการทรงเจ้าเข้าผี บูชายัญ เป็นต้นบุคคลผู้มีอันตราย 5อย่างนี้ไม่สามารถเข้าถึงมรรคผลได้เพราะมีอันตรายเหล่านี้เป็นเครื่องขวางกั้นทางสู่พระนิพพานวิธีแก้ไขอันตราย 5 อย่าง บุคคลผู้มีอันตรายในข้อที่

           (1) ต้องไปอบายถ่ายเดียว ข้อที่
          (2) แม้เขาปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่จะเป็นการสร้างอุปนิสัยที่ดีส่งผลต่อไปในชาติหน้า ข้อที่

           (3) พระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกต้องสึกจากความเป็นพระ แล้วตั้งอยู่ในภาวะสามเณรหรืออุบาสก การปฏิบัติธรรมของเขาจึงจะสามารถก้าวหน้าต่อไปได้ หรือพระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรมเสียก่อน การปฏิบัติธรรมจึงก้าวหน้าได้ ข้อที่

            (4) ผู้ประมาทว่าร้ายพระอริยเจ้า ก็ไปขอขมาหรือขอขมาผ่านองค์แทน ข้อที่

            (5)ต้องละทิ้งทิฐิความเห็นผิดดั้งเดิมของตนเสียก่อน โดยไม่หวนกลับไปกระทำอีก

            เครื่องกังวล (ปลิโพธ) ที่เป็นเหตุให้ไม่บรรลุมรรคผลความวิตกกังวล อันเป็นอุปสรรคที่ปิดกั้นมิให้บรรลุมรรคผลนิพพานเรียกว่า "ปลิโพธ" มี 10 ประการ
            1. อาวาโส ความห่วงเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยบ้านเรือน
            2. กุลัง มีกิจต้องทำเกี่ยวกับชาติตระกูล
            3. ลาโภ ความติดในลาภสักการะ
            4. คโณ ความติดหมู่คณะ โดยฐานเป็นบริวารหรือเป็นหัวหน้า
            5. กัมมัง ความห่วงกังวลในกิจกรรมหรือการงาน
            6. อัทธานัง ความที่ต้องเดินทางบ่อย
            7. ญาติ ความที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยญาติพี่น้อง
            8. อาพาธา โรคภัยไข้เจ็บหรือความเจ็บป่วย
            9. คันโถ ความที่ต้องศึกษาเล่าเรียนหรือต้องอบรมสั่งสอนผู้อื่น
           10. อิทธิ ความที่ต้องดูแลรักษาฤทธ์ิ
สิ่งขวางกั้นวิปัสสนา 10 อย่าง  กามะระติ วิปัสสะนานะภิระติ ขุปปิปาสา อะสัปปายาหาโรภิรุ มาโน ถีนัง มิทธัง วิจิกิจฉา กุกกุจจัง อุปัชฌะติ ฯ
             1. กามะระติ-ความยินดีในกามคุณ 5
             2. วิปัสสนานะภิระติ-ความไม่อภิรมย์ในการเจริญวิปัสสนา
             3. ขุปปิปาสา-ผีหลอกหลอน หรือเทวดารบกวน
             4. อะสัปปายาหาโร-อาหารไม่สับปายะ
             5. ภิรุ-กลัวลำบากไม่อาจหาญทำความเพียร
             6. มาโน-มีมานะเย่อหยิ่ง
             7. ถีนัง-เกียจคร้าน
             8. มิทธัง-มักมากในการนอน
             9. วิจิกิจฉา-ลังเลสงสัยเรื่องมรรคผล
            10. กุกกุจจัง-ความหงุดหงิดรำคาญ
บุคคลผู้มีสิ่งขวางกั้นหล่านี้อยู่แม้อย่างหนึ่ง ก็ไม่สามารถปฏิบัติวิปัสสนาให้เจริญก้าวหน้าได้ วิธีแก้สิ่งขวางกั้นเหล่านี้ก็คือ เมื่ออารมณ์ความนึกคิดเหล่านี้เกิดขึ้นมา จงนำมาเป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ โดยใช้สัมมาทิฐิเห็นความเป็นอนัตตาของอารมณ์เหล่านี้อย่างต่อเนื่องแล้วใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่า “อารมณ์เหล่านี้ บังคับไม่ได้เป็นอนัตตา”อันตรายแห่งวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ

             1.โอภาส-หากสมาธิเกิดก่อนญาณ จะมีนิมิตเป็นแสงสว่างเกิดขึ้น เช่น มีแสงเป็นดวง แสงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ เป็นต้น โอภาสเหล่านี้เป็นนิมิตของสมาธิ มิใช่วิปัสสนา
             2. ญาณ-ความรู้ที่นอกเหนือหรือไม่สอดคล้องกับสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะ
            3. ปีติ-ความอิ่มเอิบใจ หากเกิดก่อนมรรคเป็นปีติของฌาน   ทำให้ขวางกั้นมรรค แต่หากเกิดหลังผลญาณนั่นแหละ จึงเป็นปีติในโพชฌงค์ 7
            4. ปัสสัทธิ-ความสงบเบาสบาย หากอาการนี้เกิดก่อนมรรคเป็นของสมาธิ หรือฌาน
            5. สุข-มีความสุขกายสุขใจอยู่ เป็นความสุขในฌาน
            6. อธิโมกข์-ความน้อมใจเชื่อว่า อารมณ์นี้เป็นอย่างนี้ ๆ
            7. ปัคคหะ-การทำความเพียรมากเกินไป
            8. อุปัฏฐาน-มีสติแก่กล้าในอารมณ์มาก แต่ขาดการพิจารณา
            9. อุเบกขา-ใจที่วางเฉยนิ่งอยู่ เป็นของปัญจมฌาน
            10. นิกกันติ-ความชื่นชมติดใจในอารมณ์ที่เป็นอันตรายทั้ง
             9 ประการดังกล่าวแล้ว เรียกว่า "เป็นตัณหา" มิใช่อารมณ์ของวิปัสสนาในการปฏิบัติสมถะที่ใช้สติ และสมาธินำหน้าปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนั้น อาการหรืออารมณ์ดังกล่าวนี้จะปรากฏขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอให้เข้าใจว่าอาการเหล่านี้มิใช่มรรคญาณ แต่เป็นอุปสรรคหรืออันตรายแห่งวิปัสสนา เพราะหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาในขณะที่กำลังเจริญวิปัสสนาหรือเกิดความติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จะส่งผลทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นหยุดชะงัก ไม่เจริญก้าวหน้าเทพบุตรทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่เทวดา มนุษย์และพรหมจมปลักอยู่มั่นคง และไม่สามารถออกไปจากโลก กล่าวคือการเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ เป็นเพราะธรรมข้อใดที่ทำให้เขาติดอยู่อย่างนี้ พระเจ้าข้า"

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม อ่านต่อตอนที่ 6

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons