วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รวมบทสวดมนต์–watphut.blogspot.com

                   คาถานมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ

(หันทะ มะยัง สะระภัญเญนะ พุทธะมังคะละคาถาโย ภะณามะ เส)

(รับ) สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ             นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ               
อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ                        
หะระติเย อุปาลี จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท                         
พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร                    
อิสาเณปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา                      
สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัม๎เหหิ                        
สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ                           
สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ
       อิจเจวะมัจจัน                              
ตะนะมัสสะเนยยัง
       นะมัสสะมาโน                             
ระตะนัตตะยัง ยัง
       ปุญญาภิสันทัง                           
วิปุลัง อะลัตถัง
       ตัสสานุภาเวนะ                           
หะตันตะราโย ฯ

                            คาถามงคลจักรวาล ๘ ทิศ


อิมัส๎มิง มงคลจักรวาลทั้งแปดทิศ ประสิทธิ จงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้นมาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตาสะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ “พุทธะ” ชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ

(หมายเหตุ) เที่ยวต่อๆ ไปให้เปลี่ยนเฉพาะคำว่า “พุทธะ” เป็น ธัมมะ,ปัจเจกะพุทธะ, สังฆะ ตามลำดับ นอกนั้นเหมือนกันหมด


                             คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์

(หันทะ มะยัง พุทธะปะสังสา คาถาโย พุทธะสิหิงโค นามะ ภะณามะ เส)


(รับ)......อิติ ปะวะระสิหิงโค             
อุตตะมะยะโสปิ เตโช
ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส                     
สักกาโร อุปาโท
สะกาละพุทธะสาสะนัง                    
โชตะยันโตวะ ทีโป
สุระนะเรหิ มะหิโต                            ธะระมาโนวะ พุทโธติ ฯ
                                  (คำแปล)
พุทธะสิหิงคา                                  อุบัติมา ณ แดนใด
ประเสริฐ ธ เกริกไกร........................ดุจกายพระศาสดา
เป็นที่เคารพน้อม..............................มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา.............................ศาสนาที่ยืนยง
เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ....................สุวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง..............................พระศาสน์คงก็จำรูญ
ด้วยเดชสิทธิศักดิ์.............................ธ พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์ บ่มีสูญ.............................พระเพิ่มพูนมหิทธา
ข้า ฯ ขอเคารพน้อม.........................วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์ ธ รักษา................................พระศาสน์มาตลอดกาล
ปวงข้า ฯ จะประกาศ.........................พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล............................ ....ชินมารนิรันดร์เทอญ ฯ
                                 คาถาโพธิบาท


๑. บูรพารัส๎มิง พระพุทธะคุณัง บูรพารัส๎มิง พระธัมเมตัง บูรพารัส๎มิง
พระสังฆานัง ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง
ภะวันตุ เม รักขันตุ สุรักขันตุ ฯ
๒. อาคะเนย์รัส๎มิง............      ๓. ทักษิณรัส๎มิง.............
๔. หรดีรัส๎มิง
๕. ปัจจิมรัส๎มิง...............       ๖. พายัพรัส๎มิง ..............
๗. อุดรรัส๎มิง
๘. อิสานรัส๎มิง..................    ๙. ปะฐะวีรัส๎มิง .............๑๐. อากาศรัส๎มิง
(หมายเหตุ) เปลี่ยนเฉพาะคำวา “บูรพารัส๎มิง” เป็น “อาคะเนย์รัส๎มิง”
และอื่นๆ จนจบ


                           บทสวดมนต์บารมี ๑๐ ประการ

                       (หันทะ มะยัง ทะสะปาระมียัง กะโรมะ เส)

 
๑. ทานะ     ปาระมี สัมปันโน    ทานะ    อุปะปาระมี  สัมปันโน    ทานะ   ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

๒. สีละ   ปาระมี สัมปันโน     สีละ   อุปะปาระมี  สัมปันโน     สีละ   ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
๓. เนกขัมมะ

๔. ปัญญา

๕. วิริยะ

๖. ขันติ

๗. สัจจะ

๘. อธิษฐานะ

๙. เมตตา

๑๐. อุเปกขา
(หมายเหตุ) เปลี่ยนเฉพาะคำว่า “ทานะ” เป็น “สีละ”
และอื่นๆ จนจบ แล้วต่อด้วย  
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน ทะสะ อุปะปาระมี สัมปันโน ทะสะ ปะระมัตถะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง ฯ

                               ปัพพชิตอภิณ๎หปัจจเวกขณปาฐะ
          (หันทะ มะยัง ปัพพะชิตะอะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)

ทะสะ อิเม ภิกขะเว ธัมมา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพา,
เป็นธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาโดยแจ่มชัดอยู่เนืองนิจ,
กะตะเม ทะสะ,.......ธรรมทั้ง ๑๐ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราจะต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, อาการกายวาจาอย่างอื่น
ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้,
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ตัวของเราเอง ติเตียนตัวเราเอง
โดยศีลได้หรือไม่,
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเรา
โดยศีลได้หรือไม่,
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เราจะต้องพลัดพราก
จากของรักของชอบใจทั้งนั้น,
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เรามีกรรมเป็นของตัว
เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว,
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่,
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่
ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง.
                   
                     สามเณรสิกขา

                  (หันทะ มะยัง สามะเณระสิกขาปะทานิ ภะณามะ เส)

อะนุญญาสิ โข ภะคะวา,    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,
สามะเณราณัง ทะสะ สิกขาปะทานิ,ซึ่งสิกขาบท ๑๐ ประการแก่สามเณรทั้งหลาย,
เตสุ จะ สามะเณเรหิ สิกขิตุง,และเพื่อให้สามเณรศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ คือ,
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป,
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้,
๓. อะพ๎รัห๎มะจะริยา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติในสิ่งที่มิใช่พรหมจรรย์,
๔. มุสาวาทา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ,
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือการดื่มเสพสุราและเมรัยสิ่งเสพติดทั้งหลาย,
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล,
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดูฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและการดูการเล่นต่างๆ,
๘. มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการทัดทรงดอกไม้ประดับตกแต่งด้วยของหอมเครื่องย้อมเครื่องทา,
๙. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการนั่งหรือนอน เหนือที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่,
๑๐. ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี,เจตนาเครื่องงดเว้นจากการรับเงินและทอง,
อะนุญญาสิ โข โส ภะคะวา,พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,
ทะสะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุง,
เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ให้ฉิบหาย,
กะตะเมหิ ทะสะหิ,...................   ...องค์ ๑๐ อะไรบ้าง?
ปาณาติปาตี โหติ,.....................    คือสามเณรชอบทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป,
อะทินนาทายี โหติ,....................   สามเณรชอบถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้,
อะพ๎รัห๎มะจารี โหติ,....................   สามเณรไม่ชอบประพฤติพรหมจรรย์,
มุสาวาที โหติ,............................  สามเณรชอบพูดปด,
มัชชะปายี โหติ,.........................   สามเณรชอบดื่มเสพของเมา,
พุทธัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,.........  สามเณรกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า,
ธัมมัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,..........  สามเณรกล่าวติเตียนพระธรรม,
สังฆัสสะ อะวัณณัง ภาสะติ,..........  สามเณรกล่าวติเตียนพระสงฆ์,
มิจฉาทิฏฐิโก โหติ,......................  สามเณรผู้มีความเห็นผิดจากพระธรรมวินัย,
ภิกขุนีทูสะโก โหติ,......................  สามเณรชอบประทุษร้ายภิกษุณี,
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา,...............  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,
อิเมหิ ทะสะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัง สามะเณรัง นาเสตุนติ,
เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เหล่านี้ให้ฉิบหาย ดังนี้,
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา,................พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,
ปัญจะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุง,
เพื่อทำทัณฑกรรมคือลงโทษแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่าง,
กะตะเมหิ ปัญจะหิ,........................องค์ ๕ อย่างอะไรบ้าง?
ภิกขูนัง อะลาภายะ ปะริสักกะติ,
คือสามเณรพยายามทำให้ภิกษุเสื่อมลาภที่ควรจะได้,
ภิกขูนัง อะนัตถายะ ปะริสักกะติ,
สามเณรพยายามทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย,
ภิกขูนัง อะนาวาสายะ ปะริสักกะติ,...สามเณรพยายามทำไม่ให้ภิกษุอยู่อย่างสงบ,
ภิกขู อักโกสะติ ปะริภาสะติ,............สามเณรด่าและพูดขู่ภิกษุทั้งหลาย,
ภิกขู ภิกขูหิ เภเทติ,........................สามเณรยุให้ภิกษุแตกกัน,
อะนุญญาสิ โข ภะคะวา,.................พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,
อิเมหิ ปัญจะหิ อังเคหิ สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุนติ,
เพื่อทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ทำผิดประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างเหล่านี้ ดังนี้.
                                สรณคมนปาฐะ

             (หันทะ มะยัง ติสะระณะคะมะนะปาฐัง ภะณามะ เส)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,              ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,               ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ,
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,               ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,  แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,   แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,   แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ,
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ.
                               ภารสุตตคาถา
           (หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส)

ภารา หะเว ปัญจักขันธา,       ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ,
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล,        บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป,
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก,       การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก,
ภาระนิกเขปะนัง สุขัง,           การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข,
นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง,          พระอริยเจ้า สลัดทิ้งของหนัก ลงเสียแล้ว,
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ,       ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก,
สะมูลัง ตัณ๎หัง อัพพุย๎หะ,      ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก,
นิจฉาโต ปะรินิพพุโต,          เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ.
                               เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
       (หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะทีปิกะคาถาโย ภะณามะ เส)

พะหุง เว สะระณัง ยันติ...............ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
อารามะรุกขะเจต๎ยานิ..................มะนุสสา ภะยะตัชชิตา,
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว,
ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อารามและรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ,
เนตัง โข สะระณัง เขมัง...............
เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
เนตัง สะระณะมาคัมมะ................ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ,
นั่น มิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่น มิใช่สรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้,
โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ...........
สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,
จัตตาริ อะริยะสัจจานิ................. .สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ,
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว,
เห็นอริยสัจจ์คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ,
ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง.............
ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง............. ทุกขูปะสะมะคามินัง,
คือเห็นความทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้,
และหนทางมีองค์ ๘ อันประเสริฐ เครื่องถึงความระงับทุกข์,
เอตัง โข สะระณัง เขมัง..............
เอตัง สะระณะมุตตะมัง,
เอตัง สะระณะมาคัมมะ............... สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ,
นั่นแหละ เป็นสรณะอันเกษม, นั่น เป็นสรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
                             อริยธนคาถา
        (หันทะ มะยัง อะริยะธะนะคาถาโย ภะณามะ เส)


ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต..............อะจะลา สุปะติฏฐิตา,
ผู้ใดศรัทธาพระตถาคตเจ้า มั่นคงดีแล้วไม่หวั่นไหว,
สีลัญจะ ยัสสะ กัล๎ยาณัง.............อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง,
และศีลของผู้ใดงดงาม เป็นที่สรรเสริญที่พอใจของพระอริยเจ้า,
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ...............อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง,
ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในพระสงฆ์ และความเห็นของผู้ใดตรง,
อะทะฬิทโทติ ตัง อาหุ...............อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง,
บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่าคนไม่จน ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน,
ตัส๎มา สัทธัญจะ สีลัญจะ........... 
ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง,
อะนุยุญเชถะ เมธาวี.................   สะรัง พุทธานะสาสะนัง,
เพราะเหตุนั้นแล เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่,
ผู้มีปัญญาควรพอกพูนศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรมให้เนืองๆ.
                             ภัทเทกรัตตคาถา
        (หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)


อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ............นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง,
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย,
และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,
ยะทะตีตัมปะฮีนันตัง.................อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง,
สิ่งที่เป็นอดีตก็เลยไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา,
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง..........
ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง................ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย,
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้,
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง.............โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้, ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้,
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ...............มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา,
เอวัง วิหาริมาตาปิง...................
อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ................สันโต อาจิกขะเต มุนี,
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, “ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม”.
                              ธัมมคารวาทิคาถา
           (หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส)

เย จะ อะตีตา สัมพุทธา........เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ..........พะหุนนัง โสกะนาสะโน,
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย,
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน..........
วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ...............เอสา พุทธานะธัมมะตา,
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น ทุกพระองค์เคารพพระธรรม,
ได้เป็นมาแล้วด้วย, กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย,
เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง,
ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ..........
มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ..........สะรัง พุทธานะสาสะนัง,
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้รักตน หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่,
จงทำความเคารพพระธรรม,
นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ.........อุโภ สะมะวิปากิโน,
ธรรมและอธรรม จะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่าง หามิได้,
อะธัมโม นิระยัง เนติ..............ธัมโม ปาเปติ สุคะติง,
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ,
ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง,
ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ,
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ,
ธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ตน,
เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ,
นี่เป็นอานิสงส์ ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว.
                         ติลักขณาทิคาถา
.... (หันทะ มะยัง ติลักขะณาทิคาถาโย ภะณามะ เส)


สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ..........ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง,
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข............เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ.............ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์,
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข............เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ.............ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา,
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข............เอสะ มัคโค วิสุทธิยา,
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ...............เย ชะนา ปาระคามิโน,
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก,
อะถายัง อิตะรา ปะชา..............ตีระเมวานุธาวะติ,
หมู่มนุษย์นอกนั้น ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี่เอง,
เย จะ โข สัมมะทักขาเต...........ธัมเม ธัมมานุวัตติโน,
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว,
เต ชะนา ปาระเมสสันติ............มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง,
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก,
กัณ๎หัง ธัมมัง วิปปะหายะ.........สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต,
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย แล้วเจริญธรรมขาว,
โอกา อะโนกะมาคัมมะ............
วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง,
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ...............หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน,
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก,
ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง........จิตตัก๎เลเสหิ ปัณฑิโต,
บัณฑิตควรยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย,
เยสัง สัมโพธิยังเคสุ................สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง,
จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด
อบรมดีแล้วโดยถูกต้องในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย,
อาทานะปะฏินิสสัคเค..............อะนุปาทายะ เย ระตา,
บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ,
ขีณาสะวา ชุติมันโต...............เต โลเก ปะรินิพพุตตาติ,
บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ
มีความโพลงดับสนิทในโลกดังนี้แล.
                        ท๎วัตติงสาการปาฐะ
         (หันทะ มะยัง ท๎วัตติงสาการะปาฐัง ภะณามะ เส)

อะยัง โข เม กาโย,...................    กายของเรานี้แล,
อุทธัง ปาทะตะลา,....................   เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา,
อะโธ เกสะมัตถะกา,..................   เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป,
ตะจะปะริยันโต,........................    มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ,
ปุโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน,     เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ,
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย,....................  ในร่างกายนี้ มี,
เกสา,............. .  ผม,.................. โลมา,........ขน,
นะขา,.............   เล็บ,................. ทันตา,.......ฟัน,
ตะโจ,..............  หนัง,............... . มังสัง,......  เนื้อ,
นะหารู,............  เอ็น,............... .. อัฏฐี,.........กระดูก,
อัฏฐิมิญชัง,......  เยื่อในกระดูก,.... วักกัง,........ม้าม,
หะทะยัง,.........  หัวใจ,............. .. ยะกะนัง,......ตับ,
กิโลมะกัง,.......  พังผืด,............ .. ปิหะกัง,.......ไต,
ปัปผาสัง,.........  ปอด,................. อันตัง,.........ลำไส้ใหญ่,
อันตะคุณัง,......  ลำไส้น้อย,...... .. อุทะริยัง,......อาหารใหม่,
กะรีสัง,............  อุจจาระ.......... .. ปิตตัง,.........น้ำดี,
เสมหัง,.............น้ำเสลด,......... .. ปุพโพ,........น้ำหนอง,
โลหิตัง,........... น้ำเลือด,......... .. เสโท,..........น้ำเหงื่อ,
เมโท,.............. น้ำมันข้น,........ .. อัสสุ,...........น้ำตา,
วะสา,.............. น้ำเหลือง,....... .. เขโฬ,..........น้ำลาย,
สิงฆาณิกา,...... น้ำมูก,............. .. ละสิกา,........น้ำลื่นหล่อข้อ,
มุตตัง,............. น้ำมูตร,
มัตถะเก มัตถะลุงคัง,.............. .....เยื่อมันในสมอง,
เอวะมะยัง เม กาโย,............. .......กายของเรานี้อย่างนี้,
อุทธัง ปาทะตะลา,............... .......เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา,
อะโธ เกสะมัตถะกา,............... .....เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป,
ตะจะปะริยันโต,...................... .....มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ,
ปุโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน,     เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ อย่างนี้แล.

รวมบทสวดมนต์ – watphut.blogspot.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons