วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทสวดและคำแปล ติลักขะณาทิคาถา

204 

ติลักขะณาทิคาถา

        สัพเพ  สังขารา  อะนิจจาติ               ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
        อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                 เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
        สัพเพ  สังขารา  ทุกขาติ                  ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
        อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                 เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
        สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ                 ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
        อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข                 เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา
        อัปปะกา  เต  มะนุสเสสุ                  เย  ชะนา  ปาระคามิโน       
        อะถายัง  อิตะรา  ปะชา                   ตีระเมวานุธาวะติ
        เย  จะ โข  สัมมะทักขาเต                ธัมเม  ธัมมานุวัตติโน
        เต  ชะนา  ปาระเมสสันติ                 มัจจุเธยยัง  สุทุตตะรัง
        กัณหัง  ธัมมัง  วิปปะหายะ               สุกกัง  ภาเวถะ  ปัณฑิโต
        โอกา  อะโนกะมาคัมมะ                  วิเวเก  ยัตถะ  ทูระมัง
        ตัตราภิระติมิจเฉยยะ                       หิตวา  กาเม   อะกิญจะโน
        ปะริโยทะเปยยะ  อัตตานัง               จิตตักเลเสหิ  ปัณฑิโต
        เยสัง  สัมโพธิยังเคสุ                      สัมมา  จิตตัง สุภาวิตัง
        อาทานะปะฏินิสสัคเค                     อะนุปาทายะ  เย ระตา
        ขีณาสะวา ชุติมันโต                       เต  โลเก  ปะรินิพพุตาติ ฯ

คำแปล ติลักขะณาทิคาถา

          เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง  เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด  เมื่อใดบคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์  เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด  เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า  ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา  เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์  ข้อนี้เป็นทางแห่งความหมดจด 

          บรรดามนุษย์ทั้งหลาย  ชนเหล่าใด  ที่ไปถึงฝั่ง  (คือพระนิพพาน) ชนเหล่านั้นมีประมาณน้อย  ส่วนหมู่สัตว์(คือชน)นอกจากนี้ๆ ย่อมเลาะชายฝั่ง  (คือสักายะทิฏฐิ) นั้นและ  ก็ชนทั้งหลายเหล่าใดแล  เป็นผู้มีปกติประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตกล่าวแล้วโดยชอบ  ชนทั้งหลายเหล่านั้น  จักถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ล่วงวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ  (คือกิเลสมาร) อันบุคคลข้ามได้ยากนัก  บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย  ยังธรรมขาวให้เจริญ  อาศัยพระนิพพาน  ไม่มีอาลัยจากอาลัย  (คือออกจากอาลัย อาศัยพระนิพพาน)  ความยินดีได้ยากในพระนิพพานอันสงัดใด  พึงละกามทั้งหลายเสีย  เป็นผู้ไม่มีเครื่องกังวลแล้ว  ปรารถนาความยินดี ในพระนิพพานนั้น  บัณฑิตควรยังตนให้ผ่องแผ้ว  จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย  จิต อันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้วโดยถูกต้อง  ในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย  บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่น  ยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ  บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ  มีความโพลง  ดับสนิทในโลก  ดังนี้แล

วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons