วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทสวดมนต์และคำแปลธะชัคคะปะริตตัง

12385 

ธะชัคคะปะริตตัง  ธะชัคคะสุตตัง

เอวัมเม  สุตัง ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  สาวัตถิยัง  วิหะระติ
เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ  ตัตระ  โข ภะคะวา ภิกขู
อามันเตสิ  ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ  เต ภิกขู  ภะคะวะโต  ปัจจัสโสสุง ฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ
        ภูตะปุพพัง  ภิกขะเว  เทวาสุระสังคาโม  สะมุปัพยุฬโห  อะโหสิ ฯ
อะถะโข  ภิกขะเว  สักโก  เทวานะมินโท  เทเว  ตาวะติงเส อามันเตสิ
สะเจ  มาริสา  เทวานัง  สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา
ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา มะเมวะ  ตัสมิง  สะมะเย  ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ  มะมัง  หิ โว  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  โน
เจ เม ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
        อะถะ  ปะชาปะติสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
ปะชาปะติสสะ  หิ  โว เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง
ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา  โส
ปะหิยยิสสะติ  โน เจ  ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง
อุลโลเกยยาถะ
        อะถะ  วะรุณัสสะ  เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ 
วะรุณัสสะ  หิ โว  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา  ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยัสสะติ  โน เจ
วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
        อะถะ  อีสานัสสะ  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลเกยยาถะ
อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวสสะติ
ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา  โลมะหังโส  วา  โส  ปะหิยยิสสะตีติ ฯ
        ตัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  สักกัสสะ วา  เทวานะมินทัสสะ
ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ปะชาปะติสสะ  วา เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง
อุลโลกะยะตัง  วะรุณัสสะ วา  เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง
อีสานัสสะ  วา เทวะราชัสสะ  ธะชัคคัง  อุลโลกะยะตัง  ยัมภะวิสสะติ
ภะยัง  วา ฉันภิตัตตัง วา  โลมะหังโส  วา โส  ปะหิยเยถาปิ  โนปิ
ปะหิยเยถะ  ตัง กิสสะ เหตุ  สักโก  หิ ภิกขะเว  เทวานะมินโท  อะวีตะ-
ราโค  อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห  ภิรุ  ฉัมภี  อุตราสี  ปะลายีติ ฯ
        อะหัญจะ  โข ภิกขะเว เอวัง  วะทามิ  สะเจ ตุมหากัง  ภิกขะเว
อะรัญญะคะตานัง วา  รุกขะมูละคะตานัง  วา สุญญาคาระคะตานัง  วา
อุปปัชเชยยะ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา โลมะหังโส  วา มะเมวะ
ตัสมิง  สะมะเย  อะนุสสะเรยยาถะ
        อิติปิ  โส  ภะคะวา  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน  สุคะโต  โลกะวิทู  อะนุตตะโร  ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ  ภะคะวาติ  มะมัง  หิ โว  ภิกขะเว
อะนุสสะระตัง  ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง วา  โลมะหังโส
วา โส  ปะหิยยิสสะติ โน เจ  มัง อะนุสสะเรยยาถะ  อะถะ
ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ 
        สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  สันทิฏฐิโก  อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก  โอปะนะยิโก  ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหีติ  ธัมมัง  หิ
โว  ภิกขะเว อะนุสสะระตัง   ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง  วา
โลมะหังโส  วา โส  ปะหิยยิสสะติ  โน เจ  ธัมมัง  อะนุสสะเรยยาถะ
อะถะ  สังฆัง  อะนุสสะเรยยาถะ
        สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ญายะปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  ยะทิทัง  จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ  ปุริสะปุคคะลา  เอสะ  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ  อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย  ทักขิเณยโย  อัญชะลีกะระณีโย  อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง
โลกัสสาติ
        สังฆัง หิ โว  ภิกขะเว  อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ  ภะยัง
วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา  โส  ปะหิยยิสสะติ  ตัง  กิสสะ
เหตุ  ตะถาคะโต  หิ ภิกขะเว  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  วีตะราโค
วีตะโทโส  วีตะโมโห  อะภิรุ  อัจฉัมภี อะนุตราสี  อะปะลายีติ ฯ  อิทะมะ-
โวจะ  ภะคะวา อิทัง  วัตวานะ  สุคะโต  อะถาปะรัง  เอตะทะโวจะ  สัตถา
        อะรัญเญ  รุกขะมูเล  วา              สุญญาคาเร  วะ  ภิกขะโว
        อะนุสสะเรถะ  สัมพุทธัง              ภะยัง ตุมหากะ  โน สิยา
        โน เจ  พุทธัง  สะเรยยาถะ          โลกะเชฏฐัง  นะราสะภัง
        อะถะ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ            นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
        โน เจ  ธัมมัง  สะเรยยาถะ           นิยยานิกัง  สุเทสิตัง
        อะถะ  สังฆัง  สะเรยยาถะ           ปุญญักเขตตัง  อะนุตตะรัง
        เอวัมพุทธัง สะรันตานัง              ธัมมัง  สังฆัญจะ  ภิกขะโว
        ภะยัง  วา ฉัมภิตัตตัง วา             โลมะหังโส  นะ เหสสะตีติ ฯ

คำแปลธะชัคคะสูตร

        อันข้าพเจ้า  (พระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  เสด็จประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร  อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี  ใกล้เมืองสาวัตถี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล้ว  พระภิกษุเหล่านั้นจึงทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระพุทธเจ้าข้า  ดังนี้  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว  สงครามแห่งเทพดากับอสูร  ได้เกิดประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล  ภิกษุทั้งหลาย  ท้าวสักกเทวราช  ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า  ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์  ถ้าความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด  ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั้นเที่ยว  เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายดูชายธงของเราอยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันจักมี อันนั้นจักหายไป

       ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเรา  ทีนั้นท่านทั้งหลยพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีอยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนผองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมี  อันนั้นจักหายไป  ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูธงของเทวราชชื่อปชาบดี ทีนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อวรุณ  เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชื่อวรุณอยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมี  อันนั้นจักหายไป

         ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราชื่อวรุณ  ทีนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสาน  เพราะว่า เมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมี อันนั้นจักหายไปดั้งนี้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็ข้อนั้น คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม  การแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดีก็ดี  การแลดูธงของเทวราชชื่อวรุณก็ตาม  การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ดี  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขอพองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมีอันนั้นพึงหายไปได้บ้าง  ไม่หายบ้าง  ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป  มีโทสะยังไม่สิ้นไป  มีโมหะยังไม่สิ้นไป  เธอยังเป็นผู้กลัว  ยังเป็นผู้หวาด  ยังเป็นผู้สะดุ้ง  ยังเป็นผู้หนีดังนี้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า  ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม  ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม  ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตามความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  พึงเกิดขึ้นในสมัยใด  ในสมัยนั้น  ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

         แม้เพราะเหตุนี้ๆ  พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  เป็นผู้ไกลจากกิเลส  เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา  เป็นผู้รู้ชอบเอง  เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะเป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว  เป็นผู้ทรงรู้โลก  เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก  ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า  เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา  และมนุษย์ทั้งหลาย  เป็นผู้เบิงบานแล้ว  เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายตามระลึกถึงเราอยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันใจก็ดี  อันนั้นจักหายไป  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา  ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรมว่า

        พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว  เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง  เป็นของไม่มีกาลเวลา  เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ในใจ  เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตนดังนี้  ดูก่อนภิกษุทังหลาย  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมี  อันนั้นจักหายไป  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

         พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว  คือ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา  ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ  ท่านเป็นผุ้ควรทักษิณาทาน  ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม  ท่านเป็นนาบุญของชาวโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้  

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึงพระสฆ์อยู่  ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดี  อันใดจักมี  อันนั้นจักหายไป  ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเหตุว่าพระตถาคตเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว  มีโมหะสิ้นไปแล้ว  เป็นผู้ไม่กลัว  เป็นผู้ไม่หวาด  เป็นผู้ไม่สะดุ้ง  เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้ แล  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้  พระองค์ผู้เป็นพระสุคต  ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา  จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้อีกว่า

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า  หรือรุกขมูลหรือในเรือนว่าง พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ภัยจะไม่พึงมีแก่ท่านทั้งหลาย  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธ  ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก  ประเสริฐกว่านรชน  ทีนั้นพึงระลึกถึงพระธรรม  อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว  ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม  อันเป็นเครื่องนำออก  ที่เราแสดงไว้ดีแล้ว  ทีนั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์  ซึ่งเป็นนาบุญของโลก  ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า  ดูก่อนภิกษทั้งหลาย  เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ขนพองสยองเกล้าก็ดีจักไม่มีแล

       

วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons