วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทสวดและคำแปล พระอภิธรรมสังคิณี

DSC08302 

พระอภิธรรมสังคิณี

        กุสะลา ธัมมา  อะกุสะลา  ธัมมา  อัพยากะตา  ธัมมา ฯ กะตะเม
ธัมมา  กุสะลา  ฯ  ยัสมิง  สะมะเย  กามาวะจะรัง  กุสะลัง  จิตตัง  อุปปันนัง
โหติ  โสมะนัสสะสะหะคะตัง  ญาณะสัมปะยุตตัง  รูปารัมมะณัง  วา
สัททารัมมะณัง  วา คันธารัมมะณัง  วา  ระสารัมมะณัง  วา โผฏฐัพ-
พารัมมะณัง  วา ธัมมารัมมะณัง วา  ยัง ยัง  วา ปะนารัพภะ  ตัสมิง
สะมะเย  ผัสโส  โหติ  อะวิกเขโป โหติ  เย วา ปะนะ  ตัสมิง
สะมะเย  อัญเญปิ  อัตถิ  ปะฏิจจะสะมุปปันนา  อะรูปิโน  ธัมมา  อิเม
ธัมมา  กุสะลา ฯ

คำแปล  พระอภิธรรมสังคิณี

         ธรรมทั้งหลายเป็นกุศล (คือไม่มีโทษอันบัณฑิตติเตียน  มีสุขเป็นวิบากต่อไป)  ธรรมทั้งหลายเป็นอกุศล(คือมีโทษอันบัณฑิตติเตียน มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป)  ธรรมทั้งหลายเป็นอัพยากฤต (คือท่านไม่พยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล  คือเป็นกลางๆ)

         ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลเป็นไฉน

         ในสมัยใด  จิตเป็นกุศล เป็นกามาวจร (ท่องเที่ยวไปในอารมณ์อันน่าใคร่) ย่อมเกิดขึ้น เป็นไปกับด้วย โสมนัสประกอบพร้อมด้วยญาณ  ปรารภอารมณ์คือรูป  หรือมีรูปเป็นอารมณ์บ้าง  ปรารภอารมณ์คือเสียง หรือมีเสียงเป็นอารมณ์บ้าง  ปรารภอารมณ์คือกลิ่น  หรือมีกลิ่นเป็นอารมณ์บ้าง  ปรารภอารมณ์คือรส  หรือมีรสเป็นอารมณ์บ้าง ปรารภคือโผฏฐัพพะ  สิ่งที่กายถูกต้อง หรือมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์บ้าง  ปรารภอารมณ์คือธรรม  เรื่องราวทางใจ หรือมีธรรมเป็นอารมณ์บ้าง  ปรารภอารมณ์ใดๆก็ดี  ในสมัยนั้น ผู้สละ (ความประจวบต้องกันแห่งธรรม ๓ ประการ  คืออายตนะภายใน  อายตนะภายนอก และวิญญาณ) ย่อมมี ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี  ก็หรือว่า  ธรรมทั้งหลาย  อันไม่มีรูป  ที่อาศัยเกิดขึ้น  แม้เหล่าอื่นใด  มีอยู่สมัยนั้น  ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

 

วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ภาพงานบุญ










india2553

dj100.25พาเที่ยวอินเดีย



หลวงพ่อพุทธเมตตาที่พุทธคยา

DSC08813 



 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons